การบริหารจัดการน้ำใต้ดิน

   

            โครงการมีการวางแผนการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษาจะแยกเป็นอิสระของแต่ละบ่อสูบน้ำ ทั้งนี้จะมีการวางแผนก่อนเริ่มฤดูการส่งน้ำ   บ่อสูบน้ำใต้ดินแต่ละบ่อจะมีการจัดตั้งกลุ่มพื้นฐานการใช้น้ำ 1 กลุ่ม  แต่ละกลุ่มจะมีเกษตรกรหรือสมาชิกประมาณ 10-70 ราย โครงการ ฯ จะเป็นผู้กำหนดแผนการส่งน้ำและแผนการปลูกพืช โดยคำนึงถึงต้นทุนแล้วกำหนดประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำก่อนจะเริ่มการส่งน้ำ  แต่ละฤดูกาลเพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูก  วิธีการส่งน้ำที่โครงการ ฯ นำมาใช้เป็นแบบหมุนเวียนเปิด-ปิด หัวจ่ายน้ำสู่พื้นที่เพาะปลูกของตน  วิธีนี้จะช่วยขจัดปัญหาการแย่งน้ำของเกษตรกรและให้รับน้ำได้อย่างทั่วถึง

            เนื่องจากการสูบน้ำต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการสูบน้ำจากบ่อน้ำใต้ดิน เกษตรกรจะเป็นผู้ชำระค่ากระแสไฟฟ้า โดยทางโครงการ ฯ จะเป็นผู้จดสถิติการสูบน้ำให้ และคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า ว่าเกษตรกรรายใดจะต้องจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าเท่าใด  และส่งให้ทางสหกรณ์ในพื้นที่จัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากเกษตรกร เพื่อนำส่งให้การไฟฟ้าต่อไป

            สภาพการเพาะปลูก หลังมีโครงการ ฯ นอกจากสามารถสูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกรในเขตโครงการ ฯ ในกรณีฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนแล้ว  ยังสามารถสูบน้ำให้เกษตรกรปลูกในฤดูแล้งได้อีกด้วย ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนด้านประสิทธิภาพการส่งน้ำนั้น น้ำที่สูบออกมาจากท่อส่งน้ำ จะไม่มีการสูญเสียน้ำเพราะส่งด้วยระบบท่อ พีวีซี ซึ่งฝังลึกจากผิวดินประมาณ 1 เมตร ไปสู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกรโดยตรง อีกทั้งเกษตรกรไม่ต้องสูญเสียพื้นที่เพาะปลูก สามารถทำการเกษตรเหนือท่อส่งน้ำได้  

 

-  การวางแผนการส่งน้ำ


 

 

            การส่งน้ำบ่อน้ำใต้ดินแต่ละบ่อ จะส่งน้ำแบบเป็นรอบเวร เกษตรกรจะได้รับน้ำครั้งละ 1 ราย หมุนเวียนกันไป ทั้งนี้จะมีการประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ ก่อนเริ่มการส่งน้ำ เพื่อสำรวจความต้องการของเกษตรกรก่อนว่าจะเพาะปลูกอะไร เพื่อนำมาวางแผนการส่งน้ำให้ได้อย่างทั่วถึง  แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการให้น้ำของแต่ละบ่อร่วมด้วย  

ข้อมูลด้านการวางแผนบ่อสูบน้ำใต้ดิน  จำนวน  1  บ่อ

- จำนวนพื้นที่ชลประทานทั้งหมดของบ่อสูบน้ำใต้ดินมีจำนวนเท่าใด?
- อัตราการสูบน้ำ  5  วันต่อสัปดาห์  (หยุดวันเสาร์-อาทิตย์)
- ชั่วโมงการสูบน้ำ  =  10-12  ชั่วโมงต่อวัน 
- อัตราการไหลของบ่อสูบน้ำใต้ดินและความต้องการใช้น้ำของพืชที่ปลูกต่อไร่ต่อสัปดาห์  การคำนวณการใช้ข้อมูล  ดังต่อไปนี้
         ฤดูแล้ง                 พืชไร่  ใช้น้ำสัปดาห์ละ    70  ม.3 / ไร่ / สัปดาห์
                                      ข้าว    ใช้น้ำสัปดาห์ละ  100  ม.3 / ไร่ / สัปดาห์
                                                           เฉลี่ย  80  ม.3 /ไร่ / สัปดาห์
 
         ฤดูฝน                  พืชไร่  ใช้น้ำสัปดาห์ละ    60  ม.3 / ไร่ / สัปดาห์
                                   ข้าว    ใช้น้ำสัปดาห์ละ    80  ม.3 / ไร่ /สัปดาห์
                                                           เฉลี่ย  70  ม.3 / ไร่ / สัปดาห์
- ชนิดพืชที่เกษตรกรจะปลูกในฤดูนั้น ๆ  เป็นพืชชนิดใด?  เช่น  ข้าวหรือพืชไร่

- จำนวนพื้นที่ชลประทานที่เกษตรกรจะทำการเพาะปลูกมีทั้งหมดเท่าใด?
           เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดข้างต้นแล้วเราสามารถคำนวณหาพื้นที่ชลประทานที่สามารถใช้น้ำชลประทานได้เท่าใด?และจะได้จำนวนชั่วโมงการสูบน้ำตามรอบเวรต่อสัปดาห์ออกมาเป็นตารางการส่งน้ำเพื่อจะได้ให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติใช้งานได้ต่อไป  

หลักการคำนวณในการวางแผนการส่งน้ำในบ่อสูบน้ำใต้ดิน
1 คำนวณหาจำนวนพื้นที่ชลประทานที่จะสามารถใช้น้ำชลประทานได้มีจำนวนเท่าใดโดยสามารถคำนวณหาได้  ดังต่อไปนี้
จำนวนพื้นที่ชลประทาน 

= (อัตราการสูบน้ำ  5  วัน / สัปดาห์) X  (ชั่วโมงการสูบน้ำ/ วัน)  Xอัตราการไหล

                                     ความต้องการใช้น้ำของพืชที่ปลูก. 

            =     ?   ไร่

 

คำนวณหา  % ของพื้นที่ชลประทานในบ่อสูบน้ำใต้ดิน        

=  จำนวนพื้นที่ชลประทานที่คำนวณได้   x 100          =   ?  %

   จำนวนพื้นที่ทั้งหมดใน  1  บ่อสูบน้ำใต้ดิน 

 

2 คำนวณหาจำนวนชั่วโมงของบ่อสูบน้ำใต้ดินไร่ต่อสัปดาห์

 

จำนวนชั่วโมงการสูบน้ำ         

=  ( อัตราการสูบน้ำ  5  วัน / สัปดาห์ ) X (จำนวนชั่วโมงการสูบ / วัน)

                                    พื้นที่ส่งน้ำสูงสุด (ไร่)

                 

=               ?  ชั่วโมง

ตัวอย่างการคำนวณในการวางแผนการส่งน้ำฤดูแล้งปี 56/57 ในบ่อสูบน้ำใต้ดิน A1
บ่อสูบน้ำใต้ดินบ่อที่ A1 มีพื้นที่รวม  350  ไร่

อัตราการสูบน้ำ   200  ม.3/ชั่วโมง

กำหนดรอบเวรการส่งน้ำทุก 5 วัน

สูบน้ำสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 10 ชั่วโมง

กำหนดอัตราการใช้น้ำของพืชเฉลี่ย 80 ม.3/ไร่/สัปดาห์

 

จะหาพื้นที่ส่งน้ำได้จากสูตร

 

               = 200(ม.3/ชั่วโมง)x10(ชั่วโมง/วัน)x5 (วัน/สัปดาห์)

                                80 (ม.3/ไร่/สัปดาห์)

               = 125  ไร่

 

     คิดเป็น = 125x100 = 35.71 %      ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในบ่อหรือของพื้นที่

                      350                          เพาะปลูกของเกษตรกรแต่ละราย

 

 

สำหรับชั่วโมงการรับน้ำต่อไร่มีสูตรคำนวณดังนี้

 

ชั่วโมงการรับน้ำต่อไร่        =  จำนวนชั่วโมงการสูบน้ำในแต่ละสัปดาห์ (ชม)

                                                     พื้นที่การส่งน้ำสูงสุด (ไร่)

                                   

                                    =  5x10      = 0.40  ชม/ไร่  

                                         125

             หรือ      = 24 นาที่/ไร่
 

การวางแผนการจัดสรรน้ำจะพิจารณาวางแผนเป็น  2  ฤดู  ดังนี้
 

1.) การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง  (ธันวาคม-เมษายน)

          สิ่งที่จำเป็นที่สุด  คือ  ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ  แหล่งน้ำใต้ดิน  น้ำที่สูบได้รวมกันได้ไม่เกิน  40  ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี  (2  โซนรวมกัน)  และน้ำที่สูบได้จากบ่อสูบน้ำใต้ดินแต่ละบ่อมีปริมาณจำกัดคือ  ประมาณ  200  ม.3/ ชั่วโมง    บางบ่อสูบได้เพียง  130  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น  และควรสูบได้ไม่เกิน  12  ชั่วโมงต่อวัน  ดังนั้น  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา จะจัดการประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อทำความเข้าใจให้กับเกษตรกรได้รับทราบปริมาณน้ำ ที่มีอยู่โดยกำหนดหลักการวางแผนการส่งน้ำมาเป็นตารางเพื่อที่เกษตรกรจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

 

2.) การจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน  (พฤษภาคม-พฤศจิกายน)

          ในช่วงฤดูฝนของทุกปีเป็นฤดูที่เกษตรกรจะเริ่มเพาะปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือพืชไร่ก็ตามโดยที่ปริมาณน้ำชลประทานเป็นเพียงน้ำที่คำนวณทางทฤษฎีเพื่อเสริมให้กับพื้นที่เพาะปลูกเมื่อเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง  ดังนั้น  ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่  จะมีการวางแผนการใช้น้ำไว้ล่วงหน้าโดยปฏิบัติเช่นด้วยกับการวางแผนการส่งน้ำฤดูแล้งแต่จะคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำของพืชในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าฤดูแล้งเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนเข้ามาเกี่ยวข้อง
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้