ขั้นตอนการเจาะบ่อสูบน้ำใต้ดิน
1. SITE PREPARATION การเตรียมสถานที่และสิ่งจำเป็นสำหรับการเจาะ ประกอบด้วย
1.1 ฐานเจาะ (BUND) เป็นรูปฐานสี่เหลี่ยมสำหรับตั้งเครื่องเจาะและอุปกรณ์ในการเจาะ (เช่น ท่อ หัวเจาะ ก้านเจาะ เป็นต้น)
1.2 บ่อโคลน (MUD PIT) สำหรับให้น้ำโคลนหมุนเวียนเพื่อให้ตัวอย่าง (CUTTING) ตกตระกอนที่น้ำโคลนจะไหลหมุนเวียนลงหลุมเจาะ
1.3 บ่อน้ำตื้น (JET WELL) สำหรับการเจาะด้วยวิธี REVERS CIRULATION มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในการเจาะมาก จึงจำเป็นต้องเจาะบ่อน้ำสำหรับใช้ในการเจาะ (ไม่สะดวกในการที่จะใช้รถขนน้ำ)
1.4 BORE HOLE TOP
2. SETTING UP RIG การตั้งเครื่องเจาะและอุปกรณ์เพื่อการเจาะ (เช่น ยกปั่นจั่น,ต่อสายยาง)
3. DRILLING การเจาะตามสัญญามีรายละเอียดดังนี้
3.1 เจาะความลึกไม่เกิน 150 เมตร และถ้าเจาะถึงชั้นหิน (BED ROCK) ก่อนก็ให้เจาะในชั้นหินไม่เกิน 3 เมตร
3.2 ขนาดรูเจาะ - Æ 26” ไม่เกิน 15 เมตร - Æ 22” ไม่เกิน 150 เมตร
3.3 เก็บตัวอย่างทุก ๆ 1 เมตร
4. การตรวจสอบชั้นน้ำ (RUN GEOPHYSICAL LOG) เป็นการตรวจสอบชั้นน้ำทางธรณีฟิสิกส์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวอย่างสำหรับการกำหนดลงท่อทึบ,ท่อเซาะร่อง
(Scren รวมทั้งขนาดของรูเซาะร่องด้วย) และการลงกรวด
การตรวจสอบชั้นน้ำโดยวิธีธรณีฟิสิกส์นั้น สำหรับในสัญญานี้มีหลายอย่าง คือ
- SPONTANEAUS POTENTIAL , SP (โดยอาศัยการวัดความต่างศักย์ของไฟฟ้า)
- SINGLE OPINT RESISTIVITY,R (โดยอาศัยการวัดจากความต้านทานกระแสไฟฟ้า)
- 16”/64” NORMAL RESISTIVITY (เหมือน SINGLE OPINT RESISTIVITY)
CROSS SECTION (FRONT VIEW)
- Gamma Ray (โดยการใช้รังสีแกรมมาตรวจวัด)
- Caliper Log (วัดขนาดรูเจาะของบ่อบาดาล)
5. INSTALLTION GASING/SCREEN การติดตั้งท่อทึบและท่อกรุ
หลังจากการเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์หาขนาดเฉลี่ยของชั้นกรวด,ทราย,ผลการตรวจสอบชั้นน้ำ ทางธรณีฟิสิกส์ แล้วก็จะมาออกแบบรูปบ่อบาดาล ที่จะสร้างขึ้น การลงท่อจะมีการวัดความยาวของท่อทุก ๆ ท่อนทั้งนี้เพื่อให้ได้ความลึกตามที่ต้องการมากที่สุด สำหรับท่อที่ใช้ในโครงการนี้เป็นท่อ
6. VERTICALLITY ALIGNMENT TEST (การทดสอบความเหวี่ยงของท่อ) หลังจากลงท่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเริ่มลงกรวดจะต้องจะต้องมีการทดสอบความเหวี่ยงของท่อก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถติดตั้งปั้มได้และถ้าหากทดสอบแล้วไม่ได้ตามสัญญา (ความเหวี่ยงของท่อจะต้องไม่เกิน 5 มม. ในทุกๆ 10 เมตร)
7. GRAVEL PACK (การกรุกรวด)
การลงกรวดก็เพื่อที่จะเป็นตัวกรองไม่ให้ทรายเข้าบ่อ วิธีการกรุกรวดโดยการใช้กรวดลงไปตามท่อแป๊ป Æ 2”
8. INSTALLATION CONCLUCTOR PIPE (ท่อกันพัง) หลังลงกรวดเสร็จแล้วก็จะลงท่อกันพัง (ทำด้วยเหล็ก) เพื่อป้องกันดินช่วงบนลงมาทับท่อ
9. VERTICALLITY ALIGNMENT TEST เป็นการทดสอบการเหวี่ยงของท่ออีกครั้งเหมือนข้อ 6
10. CEMENTING CONCLUTOR PIPE (การอุดซีเมนต์) เป็นการอุดซีเมนต์ระหว่างหลุมเจาะกับท่อกันพัง
11. CLEANED BORE HOLE & INJET DISPERSANT (การล้างบ่อด้วยน้ำใสและน้ำยา) วิธีการโดยการอัดน้ำใสลงไปในท่อจนถึงก้นบ่อเสร็จแล้วฉีดน้ำยา (POLYPHOSPHATE) ลงไปตามท่อเซาะร่อง
12. DEVELOPED BORE HOLF BY AIR (การพัฒนาบ่อด้วยการอัดฉีดอากาศ) เพื่อเป็นการพัฒนาบ่อเพื่อให้กรวดเกิดการเหวี่ยงตัว
13. DEVELPED BORE HOLE BY PUMP (การพัฒนาด้วยการสูบน้ำ) เป็นการพัฒนาบ่อโดยการสูบน้ำออกจากบ่อ
14. DISNFECTION (การฆ่าเชื้อโรค) หลังจากพัฒนาบ่อด้วยปั้มแล้ว ก่อนจะทำการทดสอบชั้นน้ำจะใส่น้ำยา เพื่อฆ่าเชื้อโรคในบ่อ
15. STEP-DRADOWN-RECOVERY TEST (การสูบทดสอบชั้นน้ำโดยวิธีการสูบแบบขั้นตอน) เป็นการสูบทอสอบชั้นนำโดยการวัดระดับที่ลดลงในบ่อเพื่อหาค่าทางอุทกธรณีของบ่อบาดาล การสูบทดสอบแบบขั้นตอนนี้ โดยทั่ว ๆ ไปมี 4 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนจะสูบน้ำด้วยอัตราต่าง ๆ กัน (การสูบในแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาสูบนาน 6 ชม. และวัดคืนตัวอย่างน้อย 6 ชม.)
16. CONSTANT RATE TEST (สูบทดสอบระยะยาว) เป็นการสูบชั้นน้ำยาวติดต่อกัน 96 ชม. (4 วัน) ในระหว่างการทดสอบก็จะมีอัตราวัดการไหลของน้ำ – ระดับน้ำที่ลดลงในบ่อเช่นเดียวกับข้อ 15
17. CEMENT GRP (การอุดซีเมนต์)
เป็นการอุดซีเมนต์ระหว่างท่อกันพังกับท่อ
18. CONCRETE BLOCK (การก่อสร้างฐานบ่อ) การก่อสร้างฐานบ่อสำหรับตั้งปั้มขนาดของฐานบ่อ 1.5 1.5 1.0 (กว้าง ยาว ลึก)
19. CLEAN SITE (ทำความสะอาดฐานบ่อเจาะ) เช่นปรับพื้นให้อยู่คงเดิม
20. REPORT (รายงานประจำบ่อ) ประกอบด้วยรายละเอียดตั้งแต่เริ่มจนถึงก่อสร้างบ่อเสร็จ